วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563

5 ข้อ สำหรับ การขับรถชนคน (ตาย!)

5 ข้อ สำหรับ การขับรถชนคน (ตาย!) 


1.ประเมินสถานการณ์
สิ่งแรกเมื่อเกิดเหตุถ้าผู้ประสบอุบัติเหตุ บาดเจ็บเล็กน้อย ให้ท่านรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที แต่ถ้าบาดเจ็บรุนแรงในตำแหน่งสำคัญ ต้องรีบโทรแจ้งรถพยาบาลโดยทันทีและอย่าเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บเองเด็ดขาดเพราะอาจจะทำให้ผู้บาดเจ็บเสียชีวิตได้ หากผู้บาดเจ็บเสียชีวิตรีบโทรแจ้งตำรวจทันที(ในกรณีที่รถไม่มีประกัน)

2.ถ้ามีประกันรถยนต์
ให้ท่านรีบติดต่อกับบริษัทประกันของทันทันที โดยบริษัทประกันจะส่งเจ้าหน้าที่มาที่เกิดเหตุ พร้อมทำแผนที่เกิดเหตุไว้พร้อมกับให้ข้อมูลเพื่อที่เราจะสามารถเอาไว้ต่อสู้คดีในชั้นศาล (หากท่านไม่ได้ทำประกันให้รีบโทรแจ้งตำรวจทันที)

3.ถ่ายรูปที่เกิดเหตุ
หากโทรเรียกประกันแล้วให้ท่านถ่ายรูปที่เกิดเหตุ เพื่อจะได้เก็บไว้เป็นหลักฐานการต่อสู้คดีและหากมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิหรือกลุ่มคนที่สามารถถ่ายภาพศพหรือที่เกิดเหตุไว้ ให้รีบติดต่อขอภาพที่ถ่ายเก็บไว้กับตัว เพราะว่าอนาคตอาจจะเป็นประโยชน์แก่รูปคดีได้

4.ห้ามหนี
หากชนคนจนเสียชีวิตอย่าหนีเป็นอันขาด เพราะความผิดฐานขับรถประมาทนั้น ไม่ใช่เรื่องเจตนาของผู้กระทำผิดไม่ใช่อาชญากร โทษไม่มากส่วนใหญ่จะติดคุกยากดังนั้น ควรจะอยู่เพื่อต่อสู้กับความจริง มิฉะนั้นท่านอาจติดคุกหรือหากหนีจะต้องหลบหนีนานถึง 15 ปี ถ้าท่านขับรถชนคนตาย กลับกันหากท่านมอบตัวสู้คดี บางทีท่านก็ไม่มีความผิด หรือมีความผิดศาลก็ปรานีลดโทษให้ เหลือเพียงรอลงอาญาเท่านั้น

5.เก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน
ในกรณีที่ถ้าท่านได้ออกค่าใช้จ่ายต่างๆไปแล้วไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าทำศพ อะไรไปก่อนในการช่วยเหลือ ให้เก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน เพื่อทำมาเป็นหลักฐานสู้คดีในชั้นศาล หากเจอคนหัวหมอ


เรื่องการขับรถต้องถือเป็นข้อระวัง อย่าขับรถประมาทกันให้มากนักเพราะ เราไม่รู้ว่าการขับรถเร็วทำให้ชนคน สัตว์ หรือ ทำให้คนเสียชีวิตกันก็ได้   > ข่าวเด่นวันนี้ หนุ่มช่างขับรถชน สาวท้อง5เดือน  เสียชีวิต 




วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563

เรื่องรองเท้า เราต้องรู้

เรื่องรองเท้า เราต้องรู้ 

เรื่องรองเท้า ที่เราต้องรู้ถึง การเลือกไชต์ สีที่ชอบ รูปทรงที่สวย เท่ น่าใส่ หรือจะเป็น แบรน์ที่ชอบ ความนิยมในแต่ละยุค แต่แน่นอนว่า เราก็ต้องเลือกรองเท้าให้ตรงใจเราเสมอ วันนี้ จะมาบอกวิธีการเลือกรองเท้าให้ถูกใจเรากันนะคะ 


8 วิธีดูแลรองเท้าผ้าใบให้เหมือนใหม่
1. ถอดพื้นด้านในรองเท้าผ้าใบออก โดยที่ไม่ต้องเอาเชือกร้องเท้าออกด้วย
2. นำผงซักฟอกละลายน้ำให้เรียบร้อย นำรองเท้าผ้าใบจุ่มลงไป หรืออาจแช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที จากนั้นให้ทำความสะอาดด้านในรองเท้าผ้าใบด้วยมือ เพื่อเป็นการให้ผงซักฟอกกระจายตัวทำความสะอาดได้ทั่ว
3. นำแปรงสีฟันที่ไม่ใช้แล้วมาทำความสะอาดภายนอก ทุกซอก ทุกมุมของรองเท้าผ้าใบ จากนั้นล้างด้วยน้ำให้สะอาดอีกครั้ง แล้วเตรียมนำไปปั่นแห้งในเครื่องซักผ้า
4. แนะนำว่าก่อนปั่นควรจัดวางรองเท้าผ้าใบให้มีลักษณะอยู่ตรงข้ามกัน หากซักทีละหลายคู่ก็ให้วางตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ก่อนที่จะเริ่มปั่นแห้ง
5. หลังจากที่ทำการปั่นแห้งรองเท้าผ้าใบรอบแรกเสร็จแล้ว ให้นำมาล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนอีกครั้ง จากนั้นจึงค่อยนำไปปั่นให้รอบหนึ่ง
6. เพื่อเป็นการลดความเข้มของผงซักฟอก แนะนำให้ ปั่น ล้าง รองเท้าผ้าใบด้วยการทำซ้ำๆ เช่นนี้ประมาณ 3 รอบ
7. ในกรณีที่ปั่นแห้ง บางครั้งหากทิ้งรองเท้าผ้าใบไว้ข้ามคืนก็อาจแห้งทันใช้งาน ไม่จำเป็นต้องตากแดด เพราะอาจเสี่ยงต่อการเสื่อมของยางรองเท้าได้
8. หากต้องการนำรองเท้าผ้าใบไปตากแดดก็ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 1 ชั่วโมง จากนั้นให้นำมาเก็บไว้ในที่ที่ไม่มีแสงแดด หรือจะนำไปตากพัดลมก็สามารถทำได้

>> 5 รองเท้าผ้าใบยอดนิยมสุดฮิต 


วิธีการเลือกซื้อรองเท้าผ้าใบ
การเลือกรองเท้าผ้าใบใหม่สักคู่นอกจากเรื่องของรูปแบบและความสวยงามแล้ว ความเหมาะสมก็ถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เรานั้นใส่รองเท้าผ้าใบคู่โปรดออกมาได้อย่างดูดี แน่นอนล่ะหากว่าเราตัดสินใจเลือกซื้อรองเท้าคู่ที่ไม่เหมาะสมกับเรากลับมาแล้วใส่ไม่สบาย วันนั้นทั้งวันที่ต้องสวมใส่รองเท้าผ้าใบก็คงจะไม่เป็นวันที่ไม่เป็นสุขแน่ๆ

ฉะนั้น การเลือกรองเท้าสักคู่ก็ควรจะพิจารณาถึงองค์ประกอบหลายๆ อย่างเพื่อให้เราสวมใส่ได้อย่างสบาย ไม่เกิดปัญหา

สิ่งที่อยากให้ดูอันดับแรกเป็นเรื่องของไซส์รองเท้า ถ้าหากว่าเราเลือกไซส์รองเท้าได้ถูกต้องก็จะช่วยลดการบาดเจ็บเมื่อสวมใส่ได้อย่างดีเยี่ยม เรามาเริ่มต้นเลือกไซส์รองเท้าผ้าใบกันดีกว่า โดยทำตามวิธีที่เรานำมาฝาก ง่ายนิดเดียว



การเลือกไซส์รองเท้า
1. เตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ ไม่บรรทัด กระดาษ A4 และดินสอ
2. จากนั้นนำเอากระดาษ A4 มาวางไว้บนพื้น แล้วให้เราเอาเท้าเปล่าๆ วางบนกระดาษ
3. วาดกรอบสี่เหลี่ยมครอบเท้าของเราทั้งด้านกว้างและด้านยาว
4. วัดขนาดกว้าง และยาวสุด
5. อ่านค่าที่ได้ แล้วเลือกไซส์รองเท้าที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด



คราวนี้เมื่อเราเลือกไซส์ และตัดสินใจซื้อรองเท้าผ้าใบที่เหมาะสมกับเรามากที่สุดแล้ว กระนั้นก็ยังมีโอกาสว่ารองเท้านั้นอาจจะใส่ไม่สบายก็เป็นได้

เพราะเท้าของเราไม่เหมือนกัน มีความกว้างและความยาวในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน เราเลยจะต้องรีบทำการแก้ไขซะ แต่ไม่ได้หมายความต้องเอาไปเปลี่ยนที่้ร้าน เรามีวิธีที่ง่ายกว่านั้น ลองมาดูพร้อมกันเลย

 ก็มีกัน ต่างแบรนด์ ต่างความชอบ ต่างไลฟ์สไตล์การใช้งานก็อยากให้เลือกที่ตอบโจทย์กับความต้องการของตนเองมากที่สุด พร้อมด้วยการเลือกซื้อ การดูแลรองเท้าผ้าใบให้อยู่คงทนนานๆ แล้วคราวหน้าจะมีอะไรมาฝากให้ติดตามกันอีกต้องรอดู

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563

โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์

โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์  

 

          พลังงานนิวเคลียร์ : เป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อนำพลังงานจากอะตอมของสสารมาใช้งาน โดยอาศัยเตาปฏิกรณ์ปรมาณู แม้ว่าในปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์ที่มีการนำมาใช้ จะได้มาโดยอาศัยปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบแตกตัวเพียงอย่างเดียว แต่ในอนาคตอาจจะสามารถนำประโยชน์จากปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบอื่นมาใช้ได้ เช่น ปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบรวมตัว พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณู จะใช้ในการต้มน้ำเพื่อผลิตไอน้ำที่จะใช้เปลี่ยนไปเป็นพลังงานกลสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าหรือจุดประสงค์อื่น



           พลังงานนิวเคลียร์ฟิชชั่น (Nuclear fission) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการที่นิวเคลียสของอะตอมแตกตัวออกเป็นส่วนเล็กๆ สองส่วน ในปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นเมื่อนิวตรอนชนเข้ากับนิวเคลียสของธาตุที่สามารถแตกตัวได้ เช่น ยูเรเนียม หรือ พลูโตเนียม จะเกิดการแตกตัวเป็นสองส่วนกลายเป็นธาตุใหม่ พร้อมทั้งปลดปล่อยอนุภาคนิวตรอนและพลังงานจำนวนหนึ่งออกมา


หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ คือ ระบบที่จะนำพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากปฏิกิริยา นิวเคลียร์ มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนหลักๆ 4 ส่วนคือ เตาปฏิกรณ์ ระบบระบายความร้อน ระบบกำเนิดกระแสไฟฟ้า และระบบความปลอดภัย

       พลังงานที่เกิดขึ้นในเตาปฏิกรณ์เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น สิ่งที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น ไม่ได้มีเพียงพลังงานจำนวนมากที่ปลดปล่อยออกมา แต่รวมถึงผลผลิตที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น นิวตรอนอิสระจำนวนหนึ่ง การควบคุมจำนวนและการเคลื่อนที่ของนิวตรอนอิสระภายในเตาปฏิกรณ์โดยสารหน่วงนิวตรอน และแท่งควบคุมจะเป็นการกำหนดว่า จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นขึ้นภายในเตาปฏิกรณ์มากน้อยเพียงใด
 
       พลังงานที่ผลิตเกิดขึ้นภายในเตาปฏิกรณ์ จะถูกนำออกมาโดยตัวนำความร้อน ซึ่งก็คือของไหลเช่น น้ำ,เกลือหลอมละลายหรือก๊าซคาร์บอนไดอออกไซค์ ของไหลจะรับความร้อนจากภายในเตาปฏิกรณ์ จนตัวมันเองเดือดเป็นไอหรือเป็นตัวกลางในการนำความร้อนไปยังวงจรถัดไปเพื่อผลิตไอน้ำ ไอน้ำที่ได้จะถูกส่งผ่านท่อไปยังระบบกำเนิดกระแสไฟฟ้า ที่ไอน้ำจะถูกนำไปขับกังหันไอน้ำที่จะใช้ในการหมุนเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าต่อไป




โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1.โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน (Pressurized Water Reactor - PWR)

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน เป็นโรงไฟฟ้าที่นิยมใช้มากที่สุด โดยใช้น้ำเป็นทั้งตัวกลางระบายความร้อนและสารหน่วงนิวตรอน มีการออกแบบระบบการทำงานให้มีสองวงจร โดยวงจรแรกจะเป็นระบบระบายความร้อนออกจากเตาปฏิกรณ์ ที่ซึ่งน้ำจะไหลผ่านเตาปฏิกรณ์เพื่อระบายความร้อนออกจากแกนปฏิกรณ์ และนำความร้อนที่ได้ส่งต่อให้วงจรที่สองที่อุปกรณ์กำเนิดไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำไปขับกังหันไอน้ำ น้ำในวงจรแรกนี้จะมีอุณหภูมิสูงถึง 325 องศาเซลเซียส ดังนั้นวงจรแรกจึงต้องทำงานภายใต้ความดันที่สูงมาก เพื่อป้องกันการเดือดของน้ำในวงจร อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันในวงจรแรกคือตัวควบคุมความดัน (pressurizer) โดยน้ำในวงจรแรกจะทำหน้าที่ทั้งเป็นสารหล่อเย็นและสารหน่วงนิวตรอนให้แก่เตาปฏิกรณ์




ในส่วนของวงจรที่สองนั้นจะทำงานภายใต้ความดันที่ต่ำกว่าวงจรแรก ซึ่งน้ำในวงจรนี้จะถูกต้มให้เดือดเพื่อผลิตไอน้ำที่อุปกรณ์กำเนิดไอน้ำ ไอน้ำที่ผลิตได้จะใช้ในการขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า หลังจากนั้นจะควบแน่นกลับไปเป็นน้ำแล้วไหลกลับไปที่อุปกรณ์ผลิตไอน้ำ เพื่อเปลี่ยนเป็นไอน้ำต่อไปเรื่อยๆ

2.โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor - BWR)

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำเดือด มีการทำงานที่คล้ายคลึงกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดันมาก แตกต่างกันเพียงแค่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำเดือด มีวงจรการทำงานเพียงแค่วงจรเดียว ที่ซึ่งน้ำจะถูกต้มภายในเตาปฏิกรณ์ (Reactor Vessel) โดยตรง ที่อุณหภูมิประมาณ 285 องศาเซลเซียส เตาปฏิกรณ์แบบนี้ถูกออกแบบให้ทำงาน โดยที่ส่วนบนของแกนปฏิกรณ์ประมาณ 12-15% มีสภาพเป็นไอน้ำ ระบบของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำเดือดนั้น ถูกออกแบบให้น้ำเดือดภายในเตาปฏิกรณ์ทำให้เตาปฏิกรณ์แบบนี้จะทำงานที่ความดันต่ำกว่าเตาปฏิกรณ์แบบน้ำอัดความดัน




ไอน้ำที่ผลิตได้ภายในเตาปฏิกรณ์ จะไหลผ่านอุปกรณ์แยกน้ำบริเวณส่วนบนของเตาปฏิกรณ์ แล้วจะไหลออกไปขับกังหันไอน้ำโดยตรง เนื่องจากน้ำที่ไหลผ่านแกนปฏิกรณ์จะมีการปนเปื้อนจากสารรังสี ทำให้อุปกรณ์ในส่วนของกังหันไอน้ำ (Steam Turbine) จะโดนปนเปื้อนจากสารรังสีด้วย ดังนั้นอุปกรณ์ในส่วนของกังหันไอน้ำ จึงต้องได้รับการป้องกันรังสีเช่นเดียวกับระหว่างการบำรุงรักษา โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำเดือดจะมีต้นทุนต่ำกว่าแบบอื่น เนื่องจากเป็นระบบที่เรียบง่าย และในส่วนข้อกังวลเกี่ยวกับการปนเปื้อนรังสีของอุปกรณ์ของระบบกังหันไอน้ำนั้น เนื่องจากสารปนเปื้อนในน้ำนั้นมีอายุสั้นมาก* โดยห้องกังหันไอน้ำสามารถเข้าไปเพื่อบำรุงรักษาได้ภายในระยะเวลาอันสั้น หลังจากการ shut down เตาปฏิกรณ์

3.โรงไฟฟ้าแบบน้ำมวลหนักอัดความดัน (Pressurized Heavy Water Reactor - PHWR or CANDU)



โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนักอัดความดัน พัฒนาโดยประเทศแคนาดาในช่วงปี ค.ศ.1950 ภายใต้ชื่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบแคนดู (CANDU) โรงไฟฟ้าแบบนี้ใช้ยูเรเนียมธรรมชาติที่ไม่มีการเสริมสมรรถนะเป็นเชื้อเพลิง ทำให้ต้องใช้สารหน่วงนิวตรอนที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดันหรือแบบน้ำเดือด ซึ่งในกรณีนี้ได้มีการนำน้ำมวลหนัก (D2O) มาใช้ ในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนักอัดความดัน มีการออกแบบระบบการทำงานให้มีสองวงจรเหมือนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน โดยในวงจรแรกน้ำมวลหนัก (D2O) ที่จะทำหน้าที่ทั้งเป็นสารหน่วงนิวตรอนและระบายความร้อนออกจากมัดเชื้อเพลิง จะถูกอัดภายใต้ความดันสูง และจะไหลผ่านช่องบรรจุเชื้อเพลิงเพื่อระบายความร้อนออกจากเตาปฏิกรณ์ที่เรียกอีกชื่อว่า คาแรนเดรีย จนน้ำมวลหนักในวงจรแรกมีอุณหภูมิสูงถึง 290°C และเช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน น้ำมวลหนักจะถ่ายเทความร้อนให้แก่วงจรที่สองเพื่อผลิตไอน้ำที่อุปกรณ์กำเนิดไอน้ำ แล้วขับกังหันไอน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากการใช้ยูเรเนียมธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนักอัดความดัน ต้องมีการเปลี่ยนเชื้อเพลิงทุกวัน จึงมีการออกแบบให้โรงไฟฟ้าชนิดนี้สามารถเปลี่ยนเชื้อเพลิงได้โดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเตาปฏิกรณ์